• 01

    การเตรียมหาที่ดินที่พร้อมสร้างบ้าน

    คุณลูกค้าจำเป็นต้องมีที่ดินที่พร้อมสำหรับการเริ่มก่อสร้างบ้าน โดยจะต้องเป็นที่ดินที่อยู่ในพื้นที่ที่สามารถก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้ (มีไฟฟ้า น้ำประปาเข้าถึง ถนนและทางเข้าไม่แคบจนเกินไป จนไม่สามารถทำการขนส่งวัสดุก่อสร้างได้)

  • 02

    การถมดิน

    คุณลูกค้าต้องประเมินที่ดินก่อนที่จะปลูกสร้างบ้าน โดยพิจารณาว่าที่ดินที่มีอยู่นั้น ควรที่จะต้องถมเพิ่มเติมหรือไม่ หากพิจารณาดูแล้วว่าที่ดินค่อนข้างต่ำจากระดับถนน เสียงต่อภาวะน้ำท่วม จำเป็นจะต้องทำการถมดิน โดยอาจจะทำการถมดินให้สูงกว่าถนนคอนกรีตประมาณ 50 เซนติเมตร ซึ่งค่าถมดินก็ควรจะอยู่ในงบประมาณของเรา ส่วนมากจึงนิยมซื้อที่ดินที่ถมดินไว้ก่อนแล้ว

  • 03

    วางแผนเรื่องงบประมาณก่อสร้าง

    การวางแผนแนวทางการเงินนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการเตรียมตัวสร้างบ้าน เพื่อให้สอดคล้องกับการคำนวณเงินสดที่มี และเงินกู้ที่จะใช้สร้างบ้าน ซึ่งหลักในการวางแผนของลูกค้าแต่ละท่านจะแตกต่างกัน เช่น การลงเงินสดเยอะ เพราะไม่ต้องการเสียดอกเบี้ย หรือการกู้ได้ทั้งหมดแบบเต็ม 100% เพื่อเก็บเงินสดที่มี สำรองไว้เพื่อใช้จ่ายอย่างอื่น

  • 04

    การหาแบบบ้าน/หรือหาผู้รับเหมาสำหรับก่อสร้างบ้าน

    คุณลูกค้าสามารถหาแบบบ้านที่ท่านต้องการได้เลย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ใช้สอย ฟังก์ชันบ้าน (ความต้องการกี่ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น  ห้องครัวไทย หรือครัวแยก เป็นต้น) หากมีการจ้างบริษัทฯรับสร้างบ้าน ส่วนใหญ่แล้วก็จะดำเนินการให้หมดทุกอย่าง รวมถึงขั้นตอนทางราชการด้วย  เพื่อให้ทางบริษัทฯจัดทำแบบก่อสร้างขึ้นมา เพื่อนำแบบดังกล่าวไปขออนุญาตก่อสร้างตามแบบที่ท่านต้องการ ซึ่งแบบบ้านของต้องผ่านการเซ็นแบบรับรองโดยวิศวกรและสถาปนิก จึงจะนำไปยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้านได้ กรณีให้ทาง Modern Tage ก่อสร้างให้ท่าน หากยังไม่มีแบบในใจ ท่านสามารถเลือกดูแบบบ้านโปรโมชันของบริษัทฯ และสามารถปรับแบบได้ให้เหมาะสมกับที่ดินของท่านได้เลย

  • 05

    เตรียมขออนุญาตก่อสร้าง

    1.ยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างบ้านที่สำนักงานเขตท้องถิ่นในพื้นที่นั้น ๆ เช่น สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมืองพัทยา ฯลฯ ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ของจังหวัดนั้น ๆสำนักงานเขตท้องถิ่นตรวจสอบแบบแปลน โดยเฉพาะในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้าง

    2.อาคาร หรือกฎหมายผังเมืองบ้านหรืออาคาร สิ่งปลูกสร้างทุกประเภทจะต้องได้รับอนุญาตก่อสร้างบ้านก่อน และจะต้องก่อสร้างตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญา

    3.ได้รับหนังสืออนุญาตให้ก่อสร้าง กรณีที่ไม่ได้รับอนุญาต อาจจะมีการให้แก้ไขในบางราย

    4.เมื่อได้ใบอนุญาตก่อสร้างมาแล้ว ควรทำสำเนาทั้งเก็บไว้ที่ตัวเอง ให้สถาปนิก วิศวกร และผู้รับเหมา หรือบริษัทรับสร้างบ้าน ดำเนินการก่อสร้างบ้านต่อไป

    หมายเหตุ: ในระหว่างก่อสร้าง หากมีเหตุที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับเพื่อนบ้าน ชุมชนใกล้เคียง เช่น เสียงดังเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด วัสดุก่อสร้างหล่น หรือมีอุบัติเหตุ จนได้รับการร้องเรียน หน่วยงานภาครัฐอาจมีคำสั่งให้หยุดงานก่อสร้างชั่วคราว จนกว่าขั้นตอนทางกฎหมายจะแล้วเสร็จจึงจะมีคำสั่งว่า จะให้ก่อสร้างต่อ หรือให้หยุดก่อสร้างถาวร

  • 06

    กรณีลูกค้าเงินสด

    หากยื่นขออนุญาตก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง (ใบ อ.1) เรียบร้อยแล้ว สามารถเริ่มก่อสร้างได้เลย โดยทางเจ้าของบ้านจะต้องหาฤกษ์ยกเสาเอก-โท และเข้ามาเซ็นสัญญาก่อสร้างกับทางบริษัท ล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 20 วัน
    เช่น หากท่านต้องการยกเสาเอก-โท ในวันที่ 21 ม.ค. ท่านจะต้องเข้ามาเซ็นสัญญาก่อสร้างและชำระงวดแรก จำนวน 15% กับทางบริษัทในวันทำสัญญา คือวันที่ 1 ม.ค. เพื่อให้ทางบริษัทฯมีระยะเวลาดำเนินการจัดเตรียมวัสดุก่อสร้างและแรงงานช่างได้ทันกำหนด

  • 07

    กรณีลูกค้าสินเชื่อ

    หากยื่นขออนุญาตก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง (ใบ อ.1) เรียบร้อยแล้ว ให้เตรียมเอกสารทางการเงิน ตามที่ธนาคารระบุ ร่วมกับเอกสารแบบของบริษัทฯ ยื่นขอกู้สินเชื่อได้เลย หลังจากที่ธนาคารอนุมัติเรียบร้อยแล้ว จึงสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างบ้านต่อไป โดยทางเจ้าของบ้านจะต้องหาฤกษ์ในการยกเสาเอก-โท และเข้ามาเซ็นสัญญาก่อสร้างกับทางบริษัทล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 20 วัน เช่นเดียวกันกับข้อ 6.

กลับขึ้นข้างบน
arrow_upward กลับขึ้นข้างบน